เทคนิคการเทรดforexโดยใช้DemandและSupply

เทคนิคการเทรดforexโดยใช้DemandและSupply

วิธีการเทรดแบบนี้จะดูความต้องการของผู้คนในตลาดฟอเร็กซ์ว่าต้องการซื้อหรือขายมากกว่ากัน  DemandและSupply คืออะไร ความหมายก็เหมือนในการซื้อขายทั่วๆไป ก็คือ Demand หมายถึง อุปสงค์ หรือ ความต้องการสำหรับตลาดทุนหรือตลาดฟอเร็กซ์ก็คือความต้องการซื้อ  สำหรับ Supply หมายถึง อุปทาน หรือ ความต้องการขาย นั่นเอง

เราจะขอนำเสนอการเทรดโดยใช้ Demand Supply วิธีการหาโซน หรือหลักการดู Demand and Supply ซึ่งหลายๆคนอาจจะสงสัยว่า เหมือนหรือต่างกันกับ แนวรับ (Support)  แนวต้าน(Resistance) อย่างไร จริงๆแล้วก็มีส่วนคล้ายคลึงกันแต่ที่ต่างกันก็คือ Demand and Supply เทรดเดอร์จะเข้าเทรดในจังหวะแรกที่ราคาไปทดสอบ Demand หรือ Supply ครั้งแรก เพราะถ้าราคาทดสอบบ่อยครั้งแนวทดสอบนั้นก็จะมีความอ่อนลงหรือกำลังซื้อหรือขายลดลง  สำหรับการเทรดแบบแนวรับแนวต้านนั้น ยิ่งทดสอบแนวรับแนวต้านบ่อยครั้งเทรดเดอร์เชื่อว่ายิ่งทำให้แนวรับแนวต้านนั้นแข็งแรง อาจจะรอจังหวะเข้าเทรดจากการทดสอบแนวรับแนวต้านครั้งที่สองหรือครั้งที่สาม

Demand and Supply มีกี่แบบอะไรบ้าง  

  1. Rally Base Rally (RBR) เป็นลักษณะของราคาที่เป็นเทรนด์ขาขึ้นราคาวิ่งขึ้น(Rally) แล้วมีการพักตัว(Base) สร้างโซน Demand ไว้ แล้วก็วิ่งขึ้นต่อไปตามเทรนเดิม(Rally)
     
  2. Rally Base Drop (RBD) เป็นลักษณะเทรนด์ขาขึ้นราคาวิ่งขึ้น(Rally) แล้วมีการพักตัว(Base) แล้วสร้างโซน Supply จากนั้นราคาก็กลับตัววิ่งลง(Drop)
  3. Drop Base Drop (DBD) เป็นลักษณะของเทรนด์ขาลงที่ราคาวิ่งลง(Drop) แล้วมีการพักตัว (Base) แล้วราคาก็วิ่งลงต่อตามเทรนด์ขาลงเดิม(Drop)
  4. Drop Base Rally (DBR) เป็นลักษณะของเทรนด์ขาลงซึ่งราคาวิ่งลง(Drop) แล้วมีการพักตัว(Base)แล้วสร้างโซน Demand จากนั้นราคากลับตัววิ่งขึ้น(Rally)

วิธีการเข้าเทรดในการเทรดแบบ Demand และ Supply

1.การเข้าเซล เมื่อราคาได้ทำรูปแบบของ Supply ทั้งสองแบบคือ Rally Base Drop และ Drop Base Drop แล้วนั้นให้หาจังหวะที่ราคากลับไปทดสอบครั้งแรกแล้วมีการกลับตัวลงตก็หาจังหวะเข้าเซลนั่นเอง

2.การเข้าบาย เช่นเดียวกันเมื่อราคาได้ทำรูปแบบของ Demand ทั้งสองรูปแบบคือ Rally Base Rally และ Drop Base Rally แล้วนั้น  ให้หาจังหวะที่ราคากลับมาทดสอบครั้งแรกแล้วมีการกลับตัวขึ้น ก็ให้หาจังหวะเข้าบายนั่นเอง

วิธีการหาหรือดูโซน Demand และ Supply ว่ามีความแข็งแรงหรือมีประสิทธิภาพเพียงใด

ตัวอย่างจะเป็นโซน Demand ถ้าโซนจะมีคุณภาพหรือแข็งแรงนั้นก็ดูแท่งเทียนที่สร้างตัวจาก Base ซึ่งมีการ Imbalance แล้วเกิด Rally ถ้าเป็นแท่งที่แข็งแรงหรือยาวและไม่มีไส้เทียนยาวควรจะมีสองแท่งขึ้นไปจะทำให้เป็นโซนที่มีคุณภาพในการเขาซื้อที่โซน Demand ซึ่งเราจะเข้าเทรดบายเมื่อราคากลับลงมาทดสอบโซนนี้ครั้งแรกนั่นเอง

ตัวอย่างโซน Demand ที่อ่อนแอ หรือไม่มีประสิทธิภาพ จะสังเกตุได้จากแท่งเทียนที่มีการ Imbalance จาก Base ซึ่งจะมีไส้เทียนข้อนข้างยาวซึ่งดูแล้วก็ไม่ค่อยแข็งแรงและเข้าไปดูทามเฟรมย่อยว่าแท่งดังกล่าวที่เกิดขึ้นประกอบด้วยแท่งทามเฟรมเล็กอะไร ซึ่งเมื่อราคากลับมาทดสอบโซนนี้ การเข้าเทรดบายอาจจะมีความเสี่ยงมากเกินไป จึงไม่ควรเข้าเทรด

Demand/Supply ที่มีคุณภาพ เป็นอย่างไร

1.มีแท่งเทียนจำนวนน้อย

2.ถูกทดสอบน้อยครั้ง

1.มีแท่งเทียนจำนวนน้อย  หมายถึง แท่งเทียนที่เราใช้ในการตีกรอบ Demand/Supply มีแท่งเทียนน้อย ซึ่งไม่ควรเกิน 4 แท่ง ในทามเฟรมใหญ่ เช่น H4 แล้วจึงไปดูแบบละเอียดในทามเฟรม  M15 หรือ M30 จะจัดได้ว่าเป็น Demand Zone หรือ Supply Zone ที่แข็งแกร่ง ซึ่งถ้ามีแท่งเทียนจำนวนมากนั้นจะเป็น Weak Zone เนื่่องจากราคาจะทะลุผ่านได้ง่าย

2.ถูกทดสอบน้อยครั้ง  หมายถึง เมื่อเราได้ Demand / Supply Zone แล้วนั้น  เมื่อราคากลับมาทดสอบแล้วครั้งแรกจะไม่ผ่าน โดยการทดสอบครั้งแรกนั้นให้สังเกตุแท่งเทียนว่ามีการทำ Price Action ไหมเช่น ทิ้งใส้ยาว ถ้าลักษณะนี้ราคามักจะไม่ผ่าน ดังนั้นการเทรดจะมีโอกาสชนะสูง จุดที่จะปิดทำกำไรก็คือแนวรับหรือแนวต้านเดิมนั่นเอง  และถ้าแท่งเทียนที่ทดสอบหลายครั้งให้สังเกตุ Low ที่สูงขึ้น สำหรับการเทรด Supply Zone และสังเกตุ High ที่ต่ำลงสำหรับการเทรดแบบ Demand Zone ซึ่งจะเป็นข้อสังเกตุที่ราคาจะทะลุไปได้นั่นเอง

สรุป

ในการเข้าเทรดตามแนว Demand/Supply ควรพิจารณาว่าโซนนั้นๆเป็น Strong หรือ Weak Zone โดยจะต้องดูจากจำนวนแท่งเทียนและจำนวนครั้งที่ทดสอบโซน

Strong Zone จะตีกรอบได้ง่าย  Weak Zone จะตีกรอบได้ยาก

สำหรับแนวทางในการพิจาณาโซนที่จะเข้าเทรดนั้นใช้ได้กับการพิจารณา Order Block ที่มีคุณภาพหรือไม่มีคุณภาพประกอบด้วยได้เช่นกันเพื่อความแม่นยำที่มากยิ่งขึ้นนั่นเอง

เปิดบัญชีเทรด
demand and supply forex strategydemand and supply pdfdemand supply หุ้นdemandและsupplyกลยุทธ์ demand supplyระบบการเทรดเทคนิคการเทรดforex demand supply
Comments (0)
Add Comment